วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559

ความหมายและความสำคัญของการเขียน

การเขียน   หมายถึง  การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่น  โดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด


       การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน


 ความสำคัญของการเขียนในชีวิตประจำวัน

        ๑. ช่วยให้มนุษย์ถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจและประสบการณ์และความรู้สึกของตนเองสู่ผู้อื่น

        ๒. เพื่อบันทึกข้อมูล ข้อความ เรื่องราวที่ผ่านการกลั่นกรองความคิดและจัดระเบียบไว้ดีแล้วเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆไว้ช่วยจำ

        ๓. เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ใช้เป็นหลักฐานทางความคิดและเห็น  บันทึกเหตุการณ์ทางสังคมเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า

        ๔เป็นวิธีถ่ายทอดภูมิปัญญา ความคิด ความเชื่อ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่งเป็นเสมือนบันทึก              ทางวัฒนธรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรม
       ๕. ผู้เขียนสามารถใช้การเขียนเป็นการพัฒนาความคิด การจัดลำดับความคิดและเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสาร และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

จุดประสงค์ของการเขียน

        ๑.ขียนเพื่อเล่าเรื่อง  เป็นการเขียนเพื่อให้ข้อมูล เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง      ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความถูกต้องและการจัดลำดับข้อมูลให้ต่อเนื่อง เช่น เล่าเหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ ๒. เขียนเพื่ออธิบาย   เป็นการเขียนเพื่อชี้แจง ให้ความเข้าใจที่กระจ่างชัดเจน ในเรื่องต่างๆ  ใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย  และลำดับขั้นตอนการอธิบายให้ผู้อ่านสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เช่น  การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ
         ๓. เพื่อโฆษณาจูงใจ  เป็นการเขียนเพื่อแสดงเหตุผล ให้ข้อคิด ตลอดจนข้อแนะนำที่ต้องการให้ผู้อ่านปฏิบัติตาม  แสดงเหตุผลที่สัมพันธ์กัน และมี  พลังในการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้อ่าน  เช่น  โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์  รายการโทรทัศน์ ฯลฯ

      ๔. เขียนเพื่อปลุกใจ เป็นการเขียนเพื่อสร้างความรู้สึกฮึกเหิม เข้มแข็ง เกิดพลังใจและมุ่งมั่นที่จะกระทำสิ่งต่างๆ หรือเกิดกำลังใจในการกระทำสิ่งต่างๆ   เช่น  บทความ  สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ   

          ๕. เพื่อแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ หรือแนะนำ เป็นการเขียนที่แสดงความคิดเห็น บอกข้อดี ข้อบกพร่องต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์  รวมไปถึงผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ โดยใช้หลักการของเหตุและผลตามพื้นฐานของสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ ผู้เขียนต้องคำนึงถึงการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีกลวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ
          ๖. เพื่อสร้างจินตนาการ  เป็นการเขียนเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้อ่านคล้อยตาม โดยเลือกใช้คำที่อ่านแล้วเห็นเป็นภาพในจินตนาการ หรือเรียกว่าภาษาภาพพจน์   เช่น       เรื่องสั้น  นิยาย  นวนิยาย ฯลฯ

ประเภทของงานเขียน
งานเขียน  แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ   ดังนี้
    
    ๑.  งานเขียนที่แบ่งประเภทตามรูปแบบ
         ๒.  งานเขียนที่แบ่งโดยใช้เนื้อหาเป็นเกณฑ์
         
๑. งานเขียนที่แบ่งประเภทตามรูปแบบ  มี   ๒   ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
     ๑.๑  ร้อยแก้ว  หมายถึง  ถ้อยคำที่ไม่จำกัดถ้อยคำและประโยค จะเขียนให้ยาว หรือสั้นสักเท่าใดก็ได้  ไม่มีกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์ ไม่มีการละคำ ละความ  เช่น เรียงความ  จดหมาย  บันทึก รายงาน  ประกาศ   เรื่องสั้น  นิยาย  นวนิยาย   

          การเขียนประเภทร้อยแก้ว  แบ่งลักษณะการเขียน เป็น ๔ แบบ ดังนี้
          ๑.๑  การพรรณนา                   ๑.๒  การบรรยาย
          ๑.๓  การอธิบาย                      ๑.๔  การโน้มน้าวใจ
       ๑.๒ ร้อยกรอง   ต่างจากร้อยแก้วตรงที่มีการบังคับจำนวนคำ สัมผัส เสียง หรือจังหวะในการอ่าน  มีชื่อตามลักษณะบังคับหรือฉันทลักษณ์   เช่น   โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน   เป็นต้น      ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการใช้ถ้อยคำ และนำมาเรียบเรียงให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์   จึงจะทำให้เกิดความงามทางฉันทลักษณ์เหมือนสมัยก่อน แต่ยังคงมีเสียงสัมผัสที่ทำให้ไพเราะ

ตัวอย่างการเขียนเล่าเรื่อง
         นักท่องเที่ยวต่างชาติได้เล่าถึงนาทีเฉียดตายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในมณฑลเสฉวน ว่า    เธอได้ยินเสียงดังสนั่นหวั่นไหวที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมาในชีวิต หลังจากนั้นก็มีเสียงดังจากใต้พื้นดินตามมาไม่หยุด ต้นไม้หักโค่น ก้อนหินมากมายพังถล่มลงมาจากภูเขาที่อยู่ใกล้เคียง   เธอจึงไปหาที่กําบัง และติดอยู่ในกองซากปรักหักพังนานถึง 80 ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด  7.9 ริกเตอร์เมื่อหน่วยกู้ภัยช่วยดึงตัวเธอขึ้นมาได้ สภาพของเธออิดโรย มีแผลถลอกทั่วทั้งตัวและยังมีอาการหวาดกลัว เธอเห็นศพผู้เสียชีวิตกระจายเกลื่อน แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถขนย้ายได้ทัน   ทําให้ทหารต้องขุดหลุมฝังศพตรงนั้น  โดยศพที่กระจายเกลื่อนท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว

                                                                   เรียบเรียงจากข้อมูลใน คมชัดลึก
                           http://news.mumuu.com/world/cat12/news23884/


     ตัวอย่างการเขียนอธิบาย

เปรียบเทียบงานบุญบั้งไฟ   สมัยโบราณกับสมัยปัจจุบัน

    านบุญบั้งไฟตามที่ทำกันมาแต่โบราณ เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวพันกับชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก   
ตัวพิธีกรรมมีลักษณะผสมระหว่างงานเทศกาลของชุมชนกับพิธีกรรมทางความเชื่อหรือศาสนา ทุกคนที่ร่วมในงานต่างมีระบบความเชื่อเหมือนกันมีอาชีพอย่างเดียวกัน  ผู้ชายมีบทบาทเด่นในพิธีกรรมนับตั้งแต่การเตรียมการ   ผู้หญิงที่มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร และนั่งชมขบวนเซิ้งของกลุ่มผู้ชายที่แวะเวียน มาเกี้ยวพาราสีกันเป็นที่สนุกสนาน    
    แต่งานบุญบั้งไฟในปัจจุบัน  เป็นงานบุญที่จัดร่วมกันระหว่างหมู่บ้านเจ้าภาพและเครือข่ายของหมู่บ้านนั้น  ผู้เข้าร่วมงานมาจากกลุ่มเครือข่ายที่กว้างขวาง  มุ่งนำเอาผู้หญิงเข้ามาเป็นผู้เซิ้งและฟ้อนในขบวน เพื่อโชว์เนื่องจากเห็นว่าผู้หญิงทำให้ขบวนแห่สวยงาม  นิยมให้ผู้หญิงที่ร่วมขบวนแต่งกายด้วยชุดที่สวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟได้เปลี่ยนไปสู่การแสดงอย่างชัดเจน 

http://e-learning.e-tech.ac.th/learninghtml/thai2000

ตัวอย่างการเขียนโฆษณาจูงใจ





ตัวอย่างการเขียนเพื่อปลุกใจ




เรื่อง การเขียนเล่าเรื่อง

 การเขียนเล่าเรื่อง

             การเขียนเล่าเรื่องอาจเป็นการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ส่วนตัวหรือเรื่องที่น่าสนใจ  การเขียนประเภทนี้ส่วนมากใช้บรรยายโวหารและมีอธิบายโวหารประกอบ   การเขียนเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงอาจไม่ต้องวางโครงเรื่องอย่างรัดกุมเช่นเดียวกับการเขียนประเภทอื่น    อาจกำหนดโครงเรื่องอย่างง่ายๆ เริ่มต้นจากคำนำ  หัวข้อเรื่องหรือลำดับเหตุการณ์  จนถึงบทสรุป   ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าจะเขียนอย่างไรจึงจะสามารถเล่าสิ่งที่ต้องการให้ได้ดีที่สุดเท่านั้น

จุดประสงค์ในการเขียน
            ๑. เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน
            ๒. เพื่อถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์และข้อคิดให้ผู้อื่นทราบ
            ๓. เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก  อารมณ์
            ๔. เพื่อเป็นคติสอนใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

ลักษณะของการเล่าเรื่องที่ดี

            ๑. มีการเริ่มเรื่องดี
            ๒. มีรายละเอียดที่น่าสนใจ
            ๓. ประกอบด้วยตัวละคร  บุคคลหรือสิ่งที่น่าสนใจ
            ๔. เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ปกติธรรมดา
            ๕. มีจุดสุดยอดที่ตื่นเต้นเร้าใจ
            ๖.แทรกความขบขัน
            ๗. ทำให้เกิดความเข้าใจใคร่ติดตาม

            ๘. จบเรื่องเหมาะสม
วิธีการเขียนเล่าเรื่อง
            ๑. เตรียมเนื้อเรื่อง
                  ๑.๑ เลือกเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์ที่น่าสนใจ  และประทับใจผู้เล่ามากที่สุด
                  ๑.๒ เรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ซึ่งอาจเริ่มตั้งแต่การนำเรื่องไปสู่เหตุการณ์ที่
                         น่าประทับใจที่สุด
    แล้วจบด้วยการสรุปเป็นข้อคิด  ข้อเตือนใจ  ข้อเสนอแนะ
                         หรือทิ้งให้คิด
                  ๑.๓ พิจารณาเนื้อเรื่องที่จัดละดับให้มีความสั้นยาวพอเหมาะกัน
                  ๑.๔ เลือกใช้สำนวนภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
            ๒. กำหนดโครงเรื่องที่เตรียมไว้   โดยแยกเป็นส่วนคำนำ  เนื้อเรื่อง  สรุป
การเตรียมโครงเรื่อง
            ๑. ที่มาของเรื่อง
            ๒. สถานที่และเวลาที่เกิดเรื่อง
            ๓. ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีบทบาทสำคัญในเรื่อง
            ๔. เรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ
            ๕. ผลอันเนื่องมาจากเรื่องหรือเหตุการณ์สำคัญ
            ๓. ลงมือเรียบเรียง   ตามลักษณะต่างๆ   ดังนี้
                  ๓.๑ ตามลำดับเวลา   เกิดก่อนไปสู่ปัจจุบันตามลำดับเวลา
                  ๓.๒ ตามลำดับหัวข้อ   จากหัวข้อสำคัญมากไปหาความสำคัญน้อย
                  ๓.๓ โดยการอธิบาย  วิเคราะห์เรื่องราวตามลำดับความสำคัญของเรื่อง
            ๔. ใช้ประโยคนำเรื่องที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ   เช่น
                  - เรื่องนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้  แต่ก็เกิดขึ้นแล้วเมื่อวานนี้เอง
                  - กว่าจะเกลี้ยกล่อมให้คุณพ่อซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ได้  จะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก
            ๕. นำเรื่องไปสู่จุดสุดยอด  ซึ่งได้แก่จุดที่น่าสนใจหรือซับซ้อนที่สุดของเรื่อง   จุดสุดยอดเป็น
                 จุดที่เรื่องหรือเหตุการณ์ทั้งหมดดำเนินไปสู่
   และต่อจากจุดสุดยอดจะมีเรื่องที่ต้องกล่าว
                 อีกเพียงเล็กน้อยก็จบเรื่อง
            ๖. จบเรื่องในลักษณะที่ชวนให้ผู้อ่านรู้สึกว่าข้อขัดแย้งหรือปัญหาต่างๆ ได้คลี่คลายไปแล้ว
                 และรู้ชัดแจ้งว่าอะไรเกิดขึ้นกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  
 ผู้อ่านควรจะรู้สึกว่าตนเข้าใจเรื่อง
                 ทั้งหมด
แจ่มแจ้งเมื่อได้อ่านเรื่องจบลง
            ๗. ใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาให้เหมาะสมแก่เรื่องและตัวละคร
            ๘. ลีลาการเขียน
                  ๘.๑ การเลือกสรรคำ   ควรใช้คำธรรมดาง่ายๆ ก่อให้เกิดความรู้สึก  ใช้สำนวนไทย                           ใช้คำกระทัดรัด  ไม่ควรใช้ภาษาถิ่น  คำย่อ  ตัวเลขที่ไม่เป็นทางการ
                  ๘.๒ การใช้โวหาร   โวหารในการเขียนมี    ชนิด   คือ
                          ๘.๒.๑ บรรยายโวหาร   เป็นการอธิบายอย่างถี่ถ้วน   เป็นการเล่าเรื่องหรือ
                                     อธิบายเหตุการณ์
   จุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน
                          ๘.๒.๒ พรรณนาโวหาร   เป็นโวหารที่สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน                                                  เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ
                          ๘.๒.๓ เทศนาโวหาร   เป็นโวหารสั่งสอน   ชักจูงใจ
                          ๘.๒.๔ อุปมาโวหาร   เป็นโวหารเปรียบเทียบ
                          ๘.๒.๕ สาธกโวหาร   เป็นโวหารแสดงเหตุผลและการยกตัวอย่าง